สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปวิจัยเรื่อง : การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
(Preschool Children's Critical Thinking Though Science Activities)
ปริญญานิพนธ์ของ : เสกสรร มาตวังแสง
จุดมุ่งหมาย
1.เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์โดยจำแนกรายด้าน ดังนี้ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
2.เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
สมมติฐานการวิจัย
การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ตัวแปรตาม ได้แก่ การคิดวิจารณญาณ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
- แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
ชุดที่ 1 การคิดวิเคราะห์
ชุดที่ 2 การใช้เหตุผล
ชุดที่ 3 การสังเคราะห์
ชุดที่ 4 การประเมินค่า
แผนการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
หน่วย : ดิน หิน ทราย
กิจกรรม : ในดินมีอะไร
จุดประสงค์การเรียน รู้เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมนี้แล้วสามารถพัฒนาการคิดวิจารณญาณ ด้านการวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า
สื่อวัสดุอุปกรณ์
1.ดินร่วน ดินทราย ดินเหนียว
2.น้ำ
3.อ่างน้ำ
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ1.ครูแนะนำกิจกรรมในดินมีอะไร และสื่อวัสดุอุปกรณ์การทดลอง
2.เด็กและครูพิจารณาสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง ดังนี้
- เด็กสังเกตลักษณะของดินร่วน ดินทราย ดินเหนียว ว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน
- เด็กบอกประโยชน์ของดินร่วน ดินเหนียว ดินทรายขั้นดำเนินกิจกรรม
3.เด็กและครูร่วมกันวางแผนการทดลอง ดังนี้
- ให้เด็กจับดินได้อย่างอิสระเพื่อดูว่าในดินมีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง มีสีอะไร มีลักษณะอย่างไร
- ให้เด็กนำน้ำเทใส่ในดินเพื่อนจะได้เห็น สัมผัสส่วนประกอบของดินอย่างละเอียด แล้วลองขยำดูว่า ในดิมีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง
- ให้เด็กสังเกตว่าในดินมีส่วนประกอบอะไรมากที่สุด และพบอะไรในดินน้อยที่สุด
4.ครูให้เด็กๆ นำดินชนิดต่างๆ ในโรงเรียนมาขยำดูเพื่อสังเกตว่าในดินต่างชนิดกันมีส่วนประกอบเหมือนกันหรือไม่
ขั้นสรุป
5.เด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับขั้นตอน การเปลี่ยนแปลงระหว่างการทดลองวิทยาศาสตร์ และสรุปผลตามความเข้าใจของตนเองเด็กๆ และครูร่วมกันสรุปผลการทดลองดังนี้
- เด็กๆ จะเห็นได้ว่า ในดินนั้นมีส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น ดิน หิน กรวด เศษไม้ ใบไม้ เศษพืช ซึ่งดินเกิดจากการทับถมของซากต่างๆ เป็นเวลานานและดินแต่ละชนิดมีความละเอียดแตกต่างกัน ดินเหนียว เนื้อดินจะละเอียดติดกัน ส่วน ดินทราย เนื้อดินจะหยาบไม่ติดกัน
การประเมินผล
สังเกตจากการสรุป การทดลองตามความเข้าใจของตนเอง
สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
สังเกตการตอบคำถาม
จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า
1.กิจกรรมวิทยาศาตร์เป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กจะเกิดความสนใจและตื่นเต้นในขณะทำการทดลองได้เห็นถึงขั้นตอนในการทดลอง เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และทำให้เด็กเกิดความสงสัยระหว่างการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กได้คิดค้นหาคำตอบ และสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของเด็กเอง
2.การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กจะได้หยิบจับ สัมผัส สังเกต วัสดุอุปกรณ์ต่างๆอย่างอิสระเพื่อวิเคราะห์ลักษณะความเหมือนความต่างของวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์
3.การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กจะได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างที่ทำการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กได้คิดและบอกเหตุผลที่ได้จากการสังเกต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามความเข้าใจของตนเอง
4.การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กจะรวบรวมที่ได้จากการสังเกตวัสดุอุปกรณ์ สังเกตการเปลี่ยนแปลงระหว่างทำการทดลองและสังเกตผลการทดลองเพื่อสังเคราะห์กระบวนการในการทดลองเป็นขั้นตอนแล้วจึงสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น