วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 4

                      Welcome word png 3 » PNG Image    





                       

บันทึกครั้งที่ 4

วัน ศุกร์ ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:30 - 12:30 น. 

ไขปริศนาโลกวิทยาศาสตร์กับการทดลองประหลาด 'เทียนไขดูดน้ำ' - bectero.tv

การทดลองเทียนไขดูดน้ำ

ขั้นตอนที่ 1 ให้เด็กๆทายหรือบอกชื่ออุปกรณ์ที่เราเตรียมมา เมื่อเด็กๆพูด                                        เราจะวางเรียงจากซ้ายไปขวาของเด็ก เเละ ขวาไปซ้ายของคุณครู

ขั้นตอนที่ 2  สาธิตการทดลองให้เด็กๆดู เริ่มจากการจุดเทียนเเละตั้งลงบนจาน                                  ขออาสาสมัคร ออกมาช่วยคุณครูเทน้ำลงบนจาน ตามด้วยการนำเเก้ว                            มาครอบเทียน

ขั้นตอนที่ 3  เเต่ก่อนจะครอบเเก้ว คุณครูจะต้องถามเด็กๆว่า 'ถ้าคุณครูครอบเเก้ว                               ลงบนเทียน เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น' 

ขั้นตอนที่ 4 คุณครูครอบเเก้วลงบนเทียน จากนั้นเทียนที่อยู่ข้างในเเก้วเริ่มดับ                                    เมื่อเทียนดับ น้ำจึงเคลื่อนที่เข้าไปภายในเเก้ว

ขั้นตอนที่ 5 คุณครูถามเด็กๆว่า เมื่อครอบเเก้วลงบนเทียนเเล้วเกิดอะไรขึ้น                                          ตรงกับที่เด็กๆคิดไว้หรือเปล่า เด็กสังเกตเห้นอะไร มีอะไรเปลี่ยนเเปลง

ขั้นตอนที่ 6  ที่น้ำเข้าไปในเเก้วได้ เกิดจากการที่ก๊าซออกซิเจนถูกใช้ในการเผาไหม้                        ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นมาหลังจากนั้นความดันอากาศที่                             อยู่ในแก้วจะลดน้อยลง ความดันอากาศจากนอกแก้วก็จะดันนํ้าเข้ามา                             ในแก้ว

                                 

คำศัพท์
       
           1. Experiment การทดลอง
           2. Change             การเปลี่ยนเเปลง
           3. Taper เทียนไข
           4. Mobile การเคลื่อนที่
           5. Vision                การมองเห็น



 การประเมิน

          ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ได้พูดเเละคิดคำตอบ
          ประเมินเพื่อน : เพื่อนค่อนข้างตั้งใจเรียน 
          ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดอธิบายได้ค่อนข้างชัดเจน 



วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปตัวอย่างการสอน


สรุปตัวอย่างการสอน 



จากการทดลอง เรื่องหลอด 

1. เด็กๆใช้หลอดในการเป่าน้ำที่ต่างกัน ทำให้ฟองในเเก้วของเด็กๆมีขนาดต่างกัน 
      - การเป๋าของหลอดน้ำขนาดใหญ่ฟองที่ออกมาในเเก้วมีขนาดใหญ่
      - การเป่าของหลอดน้ำขนาดเล็กฟองที่ออกมาในเเก้วมีขนาดเล็ก
 
             2. เด็กๆใช้หลอดที่มีขนาดต่างกันเป่า กังหันลม บริเวณ ด้านข้างของกังหันลม
      - การเป่ากังหันลมของหลอดขนาดใหญ่ กังหันหมุนได้ช้า
      - การเป่ากังหันลมของหลอดขนาดเล็ก กังหันหมุนได้เร็ว


            3. เด็กๆใช้หลอดขนาดต่างกัน ในการเป่าสีที่กระดาษ
      - การเป่าสีของหลอดขนาดใหญ่ สีพุ่งไปได้ใกล้กว่าหลอดขนาดเล็ก
      - การเป่าสีของหลอดขนาดเล็กสีพุ่งไปได้ไกลกว่าหลอดขนาดใหญ่

            

สรุปวิจัย



                                  สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปวิจัยเรื่อง : การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 
                       (Preschool Children's Critical Thinking Though Science Activities)
ปริญญานิพนธ์ของ : เสกสรร  มาตวังแสง


จุดมุ่งหมาย
        1.เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์โดยจำแนกรายด้าน ดังนี้ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
        2.เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์


สมมติฐานการวิจัย            
        การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์


ตัวแปรที่ศึกษา
        ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
        ตัวแปรตาม ได้แก่ การคิดวิจารณญาณ


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
        - แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
        - แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 

  
แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
         ชุดที่ 1 การคิดวิเคราะห์
         ชุดที่ 2 การใช้เหตุผล
         ชุดที่ 3 การสังเคราะห์
         ชุดที่ 4 การประเมินค่า


แผนการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์

   หน่วย : ดิน หิน ทราย

   กิจกรรม : ในดินมีอะไร


   จุดประสงค์การเรียน  รู้เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมนี้แล้วสามารถพัฒนาการคิดวิจารณญาณ ด้านการวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า


   สื่อวัสดุอุปกรณ์
           1.ดินร่วน ดินทราย ดินเหนียว
           2.น้ำ
           3.อ่างน้ำ


   ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ1.ครูแนะนำกิจกรรมในดินมีอะไร และสื่อวัสดุอุปกรณ์การทดลอง

         2.เด็กและครูพิจารณาสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง ดังนี้
            - เด็กสังเกตลักษณะของดินร่วน ดินทราย ดินเหนียว ว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน
            - เด็กบอกประโยชน์ของดินร่วน ดินเหนียว ดินทรายขั้นดำเนินกิจกรรม

         3.เด็กและครูร่วมกันวางแผนการทดลอง ดังนี้
            - ให้เด็กจับดินได้อย่างอิสระเพื่อดูว่าในดินมีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง มีสีอะไร มีลักษณะอย่างไร
            - ให้เด็กนำน้ำเทใส่ในดินเพื่อนจะได้เห็น สัมผัสส่วนประกอบของดินอย่างละเอียด แล้วลองขยำดูว่า ในดิมีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง
            - ให้เด็กสังเกตว่าในดินมีส่วนประกอบอะไรมากที่สุด และพบอะไรในดินน้อยที่สุด
 
          4.ครูให้เด็กๆ นำดินชนิดต่างๆ  ในโรงเรียนมาขยำดูเพื่อสังเกตว่าในดินต่างชนิดกันมีส่วนประกอบเหมือนกันหรือไม่


   ขั้นสรุป
          5.เด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับขั้นตอน การเปลี่ยนแปลงระหว่างการทดลองวิทยาศาสตร์ และสรุปผลตามความเข้าใจของตนเองเด็กๆ และครูร่วมกันสรุปผลการทดลองดังนี้
             - เด็กๆ จะเห็นได้ว่า ในดินนั้นมีส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น ดิน หิน กรวด เศษไม้ ใบไม้ เศษพืช ซึ่งดินเกิดจากการทับถมของซากต่างๆ เป็นเวลานานและดินแต่ละชนิดมีความละเอียดแตกต่างกัน ดินเหนียว เนื้อดินจะละเอียดติดกัน ส่วน ดินทราย เนื้อดินจะหยาบไม่ติดกัน


   การประเมินผล
             สังเกตจากการสรุป การทดลองตามความเข้าใจของตนเอง
             สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
             สังเกตการตอบคำถาม


     จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า
             1.กิจกรรมวิทยาศาตร์เป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กจะเกิดความสนใจและตื่นเต้นในขณะทำการทดลองได้เห็นถึงขั้นตอนในการทดลอง เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และทำให้เด็กเกิดความสงสัยระหว่างการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กได้คิดค้นหาคำตอบ และสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของเด็กเอง

             2.การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กจะได้หยิบจับ สัมผัส สังเกต วัสดุอุปกรณ์ต่างๆอย่างอิสระเพื่อวิเคราะห์ลักษณะความเหมือนความต่างของวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์
   
             3.การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กจะได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างที่ทำการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กได้คิดและบอกเหตุผลที่ได้จากการสังเกต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามความเข้าใจของตนเอง

             4.การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กจะรวบรวมที่ได้จากการสังเกตวัสดุอุปกรณ์ สังเกตการเปลี่ยนแปลงระหว่างทำการทดลองและสังเกตผลการทดลองเพื่อสังเคราะห์กระบวนการในการทดลองเป็นขั้นตอนแล้วจึงสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนเอง




สรุปบทความ

 

                      สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง    :  วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (Science for Early Childhood)
ผู้เขียน  : บุญไทย แสนอุบล
ที่มา : 


                 การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมิใช่หมายถึงสาระทางเคมี ชีววิทยา 
แต่เด็กปฐมวัยนั้นจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นหลักสำคัญ 
ซึ่งได้แบ่งสาระทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ 4 หน่วย ดังนี้
          หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว
          หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการรับรู้
          หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
          หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการแยกประเภท


ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4เด็กจะตั้งใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
        1.การสังเกต
        2.การจำแนกประเภท
        3.การสื่อความหมาย
        4.ทักษะการลงความเห็น
        5. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์             


         การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติ แบ่งเป็น 5 ขั้นดังนี้

         ขั้นที่ 1 การกำหนดขอบเขตของปัญหา
ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น ต้นไม้โตได้อย่างไร

         ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน
เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้า

         ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูล
เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตาสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในขั้นที่ 2

         ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล
ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกัน  
         
         ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน ว่าผลที่เกิดคืออะไร เพราะอะไร ทำไม
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้น
เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่งเป็นวัฏจักร ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ การสังเกต การจำแนกประเภทและเปรียบเทียบ การวัด การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและการนำไปใช้ 



         สาระที่เด็กต้องเรียน
1.สาระเกี่ยวกับพืช เช่น พืช ต้นไม้ ดอกไม้
2.สาระเกี่ยวกับสัตว์ เช่น ประเภทของสัตว์ สวนสัตว์
3.สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์ เช่น การจม การลอย
4.สาระเกี่ยวกับเคมี เช่น รสของผลไม้ ความร้อน
5.สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา เช่น ดิน ทราย หิน
6.สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์



          เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์
1.ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ และปรากฎการณ์ที่มี
2.ให้เด็กได้ใช้ประบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
3.กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ  และเจตคติของเด็กให้พบ
4.ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้น



           หลักการจัดกิจกรรม แบ่งได้ 5 ข้อ
1.เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก
2.เอื้ออำนวยให้แก่เด็กที่กระทำ
3.เด็กต้องการและสนใจ
4.ไม่ซับซ้อน
5.สมดุล

บันทึกครั้งที่ 3



บันทึกครั้งที่ 3

วัน ศุกร์ ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:30 - 12:30 น.


การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ต้องคำนึงถึง 3 สิ่ง
     1. เรื่องที่เด็กสนใจ
     2. สิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก
     3. เหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก


หลักสูตรวิทยาศาสตร์
    1. ตัวฉัน
    2. บุคคล เเละ สถานที่
    3. คนรอบตัว
    4. ธรรมชาติ สิ่งเเวดล้อมรอบตัว


ความหมายของพัฒนาการ 
     คือ ความสามารถที่เเสดงออกมาเเต่ละช่วงอายุ


ลักษณะของพัฒนาการ
     คือ การเปลี่ยยนเเปลงเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เปรียบเสมือน ขั้นบันได


พัฒนาการเเต่ละขั้น จะต้องมั่นคง เพราะ จะมีผลต่อขั้นต่อๆไป


การเล่น 
     คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำกับวัสดุ เพื่อเลือกเเละตัดสินใจ                           อย่างมีความสุข


เพียเจย์ สรุป
      1. ขั้นประสาทรับรู้ เเละการเคลื่อนไหว ช่วงอายุ เเรกเกิด ถึง 2 ปี
 โดยใช้ประสาทรับรู้ทั้ง 5 กระ ทำกับวัตถุ เช่น ไขว่คว้า มองดู
      2. ขั้นก่อนปฎิบัติการคิด ช่วงอายุ 2 ถึง 7 ปี
- ขั้นก่อนสังกัป คือตอบตามตาเห็น
- ขั้นญาณหยั่งรู้ คือ ขั้นอนุรักษ์ การมีเหตุผล
     3. ขั้นปฎิบัติการคิดด้านรูปธรรม คือ รูปภาพ
    


คำศัพท์

   1. Listening  การฟัง
   2. Research  วิจัย
   3. Experience arrangement  การจัดประสบการณ์
   4. Article     บทความ
   5. Meaning  ความหมาย



 การประเมิน

          ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟัง ได้พูดเเละคิดคำตอบ 
          ประเมินเพื่อน : เพื่อนค่อนข้างตั้งใจเรียน 
          ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดอธิบายได้ค่อนข้างชัดเจน 


บันทึกครั้งที่ 2

 


บันทึกครั้งที่ 2

วัน ศุกร์ ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:30 - 12:30 น.


ได้รับมอบหมายงานให้จับกลุ่ม 5 คน พร้อมทั้งกระดาษ 1 เเผ่นใหญ่ เเละปากกาเมจิก

หัวข้อของงานวันนี้ คือ ถ้าพูดถึง วิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัย เเละการจัดประสบการณ์

               เราจะนึกถึงอะไรที่เกี่ยวกับวิทยาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเพราะเหตุใด


คำตอบที่ได้  1. วิทยาศาสตร์ 
                           - สิ่งเเวดล้อม เพราะ มีการเปลี่ยนเเปลงอยู่ตลอดเเละเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
                           - การทดลอง เพราะเด็กจะมีการลองผิดลองถูก
 
                       2. เด็กปฐมวัย 
                           - พัฒนาการ เพราะ เด็กมีพัฒนาการเป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
                           - การอบรมเลี้ยงดู เพราะ การอบรมเลี้ยงดูมีผลต่อพัฒนาการของเด็ก

                       3. การจัดประสบการณ์ 
                           - สื่อ เพราะ เป็นตัวกลางในการเรียนรู้
                           - การเล่น เพราะ เป็นวิธีการในการเรียนรู้


งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้
                                     เด็กปฐมวัย VS การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

                       1. วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆจริงหรือ ?

              ตอบ สำหรับดิฉันคิดว่าไม่จริง เพราะ วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว สิ่งเเวดล้อมทั้งหมด
                       คือวิทศาสตร์ เด็กๆจะมีความอยากรู้อยากเห็นเเละคอยสังเกตสิ่งรอบตัวอยู่เสมอ 
                        จะคอยสักถามเมื่อเกิดข้อสงสัย มันคือธรรมชาติของมนุษย์



                       2. ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งเเต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ?

              ตอบ สำหรับดิฉันคิดว่าไม่ยาก เพราะ วิทยาศาสตร์ในวัยของเด็กปฐมวัยต้องเริ่มจาก
                       เรื่องใกล้ตัว เเละต้องวิธีที่ง่ายต่อการเรียนรู้ เหมาะสมกับพัฒนาการ ดิฉันเชื่อว่า
                       ครูปฐมวัยสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก



                       3. ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ?

              ตอบ  ครูอาจจะสอนในเรื่องของการดำรงชีวิต เช่น เมื่อฝนตกฟ้าร้อง เราไม่ควรเล่นโทรศัพท์
                        หรือออกไปยืนอยู่กลางที่กลางเเจ้ง เพราะ อาจจะเกิดฟ้าผ่าซึ่งอันตรายต่อตัวเราเอง                              สอนวิทยาสตร์ให้เด็กต้องสอนเหมือนอยู่ในชีวิตประจำวัน เพราะเราไม่สามารถสอน
                        เป็น กิจจะลักษณะได้



                    คำศัพท์

       1. Ducbt         สงสัย
       2. Life             ชีวิต
       3. Observe      สังเกต
       4. Danger        อันตราย
       5. Thunder     ฟ้าร้อง

 การประเมิน

          ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟัง ได้พูดเเละคิดคำตอบ 
          ประเมินเพื่อน : เพื่อนค่อนข้างตั้งใจเรียน เเละช่วยกันตอบคำถาม
          ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดอธิบายได้ค่อนข้างชัดเจน 





วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่ 1


บันทึกครั้งที่ 1

วัน ศุกร์ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:30 - 12:30 น.

พบกันครั้งเเรกในการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

   ได้เริ่มพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับรายวิชานี้ว่ามีเนื้อหาอย่างไรเกณฑ์การให้คะเเนนมีอะไรบ้าง 

        หรือเรียกง่ายๆว่า มคอ.3 ของเรานั้นเองเเละได้รับมอบหมายงานให้ทำ Mind Mapping 

        ก่อนเรียน เนื้อหาที่เกี่ยวกับรายวิชานี้


ไม่มีคำอธิบาย


คำศัพท์
       
           1. Experiment       ทดลอง
           2. Change              การเปลี่ยนเเปลง
           3. Environment     สิ่งเเวดล้อม
           4. Science              วิทยาศาสตร์
           5. Vision                การมองเห็น

 การประเมิน

          ประเมินตนเอง : ตั้งใจตอบคำถาม ได้พูดเเละคิดคำตอบ 
          ประเมินเพื่อน : เพื่อนค่อนข้างตั้งใจเรียน 
          ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดอธิบายได้ค่อนข้างชัดเจน 





บันทึกครั้งที่ 10

  เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา  เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุ...